การเลือกขนาดรูของเทปน้ำพุ่งให้เหมาะสม

903 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การเลือกขนาดรูของเทปน้ำพุ่งให้เหมาะสม

ระบบน้ำพุ่ง เป็นหนึ่งในรูปแบบของการวาง ระบบน้ำการเกษตร กรรม ที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานเพื่อประโยชน์ในการช่วยรดน้ำทั้งพืชสวนครัว พืชสวน และพืชไร่ ที่เป็นไม้ยืนต้นและต้องการได้รับความชุ่มชื้นที่บริเวณโคนต้นมากกว่าไม้ประเภทอื่น ๆ เนื่องจากระบบน้ำพุ่งสามารถช่วยกระจายน้ำออกจาก ท่อน้ำพุ่ง และ เทปน้ำพุ่ง ได้มาก และสามารถกระจายน้ำได้ในระยะทางที่ไกลมากกว่า ซึ่งจะแตกต่างไปจากระบบ ท่อน้ำหยด ที่สามารถให้น้ำพืชได้แบบช้า ๆ แค่ที่บริเวณโคนต้นเท่านั้น  

แต่อย่างไรก็ตาม การจะควบคุมให้ เทปน้ำพุ่ง สามารถกระจายน้ำออกไปได้ในระยะทางและทิศทางที่ต้องการ เพื่อช่วยให้พืชแต่ละประเภทในแปลงปลูกได้รับน้ำในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวันแล้วนั้น ผู้ใช้งานก็จำเป็นที่จะต้องทำการเลือกขนาดของรูน้ำและระยะห่างของรูน้ำที่ปรากฏอยู่บนเทปน้ำพุ่งให้เหมาะสมกับรูปแบบที่ต้องการนำมาใช้งาน โดยขนาดของรูน้ำของเทปน้ำพุ่งที่มีความเหมาะสมกับการนำมาใช้งานภายในแปลงพืชสวนครัว พืชสวน หรือพืชไร่จะเป็นอย่างไรบ้าง ลองมาดูไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้ได้เลย
 

เลือกรูปแบบของเทปน้ำพุ่งอย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งาน
โดยทั่วไปแล้ว เทปน้ำพุ่งที่มีวางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดในขณะนี้นั้นจะมีขนาดที่เป็นมาตรฐานให้เลือกใช้งานทั้งหมด 5 รูปแบบ ซึ่งเทปน้ำพุ่งแต่ละรูปแบบก็จะมีลักษณะ ขนาด และรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนของรูน้ำ รวมถึงระยะห่างของรูน้ำของเทปน้ำพุ่งหรือ ท่อน้ำพุ่ง ที่มีความแตกต่างกันออกไป ดังนี้

เทปน้ำพุ่งแบบ 1 รูน้ำ เป็นเทปน้ำพุ่งที่มีลักษณะของรูน้ำเป็นแบบเฉียง โดยสำหรับเทปน้ำพุ่งแบบ 1 รูน้ำความยาว 1 เมตรนั้นจะมีจำนวนรูน้ำทั้งหมด 10 รูน้ำ และมีระยะห่างระหว่างรูน้ำอยู่ที่ 10 เซนติเมตร เพราะฉะนั้นแล้วเทปน้ำพุ่งแบบ 1 รูน้ำจึงเป็นเทปน้ำพุ่งที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานเพื่อการช่วยรดน้ำต้นไม้ หรือรดน้ำพืชผลทางการเกษตรประเภทพืชล้มลุกและพืชไร่ที่มีการปลูกเรียงกันเป็นแถวยาวที่ระยะ 1-1.5 เมตร
 
เทปน้ำพุ่งแบบมีปีก เทปน้ำพุ่งแบบมีปีกเป็นเทปน้ำพุ่งอีกประเภทหนึ่งที่มีลักษณะ วิธีการใช้งาน ตลอดจนมีขนาดของรูน้ำบนตัวเทปน้ำพุ่งให้เลือกใช้งานอย่างหลากหลายทั้งในรูปแบบ 2 รูน้ำ, 3 รูน้ำ, และ 5 รูน้ำ เช่นเดียวกันกับเทปน้ำพุ่งหรือท่อน้ำพุ่งแบบทั่วไป แต่จะมีความแตกต่างกันตรงที่ลักษณะของตัวเทปน้ำพุ่งแบบมีปีกนั้นจะมีความกว้างของหน้าเทปที่มากกว่าเนื่องจากมีส่วนปีกหรือแถบข้างของตัวเทปน้ำพุ่งที่ถูกใส่เพิ่มเข้ามา เพื่อประโยชน์ในการช่วยป้องกันไม่ให้เทปน้ำพุ่งแบบมีปีกเกิดการหมุนหรือพลิกคว่ำในระหว่างที่มีการใช้งาน
 
เทปน้ำพุ่งแบบ 2 รูน้ำ เป็นเทปน้ำพุ่งที่มีระยะห่างของรูน้ำเฉียงอยู่ที่ 5 เซนติเมตร และมีระยะห่างของชุดรูน้ำอยู่ที่ 10 ถึง 20 เซนติเมตร ส่งผลให้เทปน้ำพุ่งแบบ 2 รูน้ำจึงเหมาะสำหรับการนำมาใช้งานในแปลงพืชสวนครัว พืชสวน และพืชไร่ ที่มีความยาวของแปลงปลูกสูงสุดที่ 50 เมตร และมีพื้นที่กว้างด้านข้างประมาณ 1 เมตร
 
เทปน้ำพุ่งแบบ 3 รูน้ำ เป็นเทปน้ำพุ่งแบบรูน้ำเฉียงจำนวน 3 รู โดยแต่ละรูน้ำจะมีระยะห่างของรูน้ำที่ 4.5 เซนติเมตร และมีระยะห่างของชุดรูน้ำอยู่ที่ 20 ถึง 30 เซนติเมตร ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเทปน้ำพุ่งแบบ 3 รูน้ำมักจะได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานในแปลงปลูกที่มีขนาดใหญ่ ที่มีความยาวของแปลงปลูกรองลงมาจากแปลงปลูกที่มีการนำเอาเทปน้ำพุ่งแบบ 2 รูน้ำมาใช้งาน โดยขนาดของแปลงปลูกจะมีความยาวไม่เกิน 30 เมตร และมีพื้นที่กว้างด้านข้างประมาณ 1 เมตร
 
เทปน้ำพุ่งแบบ 4 รูน้ำ เป็นเทปน้ำพุ่งที่จะมีระยะห่างของรูน้ำทั้ง 4 รูน้ำที่ไม่เท่ากัน โดยจะมีการเว้นระยะห่างของรูน้ำในรูปแบบ 2, 3, 2 เซนติเมตร และจะมีระยะห่างของชุดรูน้ำอยู่ที่ 20 ถึง 30 เซนติเมตร โดยทั่วไปแล้วเทปน้ำพุ่งแบบ 4 รูน้ำส่วนใหญ่มักจะถูกนำมาใช้งานในแปลงพืชที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก โดยที่ความยาวของแปลงพืชนั้นไม่ควรเกิน 20 เมตร และพืชที่นำมาปลูกนั้นควรเป็นพืชที่มีขนาดต้นสั้น ๆ เพื่อช่วยให้พืชทั้งหมดสามารถได้รับน้ำอย่างทั่วถึง
เทปน้ำพุ่งแบบ 5 รูน้ำ เทปน้ำพุ่งแบบ 5 รูน้ำจะเป็นเทปน้ำพุ่งอีกหนึ่งรูปแบบที่มีระยะห่างของรูน้ำแบบเฉียงที่ไม่เท่ากัน ที่ 2, 3, 3, 2 เซนติเมตร และจะมีระยะห่างของชุดรูน้ำที่ 20 ถึง 35 เซนติเมตร ส่งผลให้เทปน้ำพุ่งแบบ 5 รูน้ำ จึงเป็นเทปน้ำพุ่งที่เหมาะสำหรับการนำมาใช้งานในแปลงปลูกที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก โดยควรมีความยาวของแปลงปลูกไม่เกิน 15-20 เมตร และมีระยะในการปลูกพืชที่เป็นแถวสม่ำเสมอกันทั้งสองข้าง
 

วิธีการติดตั้งเทปน้ำพุ่งเพื่อการใช้งาน
หลังจากที่ได้มีการเลือกขนาดของรูน้ำของเทปน้ำพุ่งมาใช้งานอย่างเหมาะสมแล้วนั้น ขั้นตอนต่อไปจะเป็นขั้นตอนของการนำเอาเทปน้ำพุ่งมาติดตั้งเพื่อการนำมาใช้งานภายในแปลงปลูกพืช ซึ่งจะสามารถทำได้ทั้งหมด 2 วิธี โดยที่แต่ละวิธีในการติดตั้งนั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดและรูปแบบของวาล์วเทปน้ำพุ่งและข้อต่อเทปน้ำพุ่งที่ทางผู้ใช้งานได้มีการเลือกนำมาใช้งาน ดังนี้

การติดตั้งเทปน้ำพุ่งแบบดึงล็อก
การติดตั้งเทปน้ำพุ่งแบบดึงล็อกเป็นการนำเอาเทปน้ำพุ่งมาต่อเข้ากับวาล์วเทปน้ำพุ่งและข้อต่อเทปน้ำพุ่งให้พอดี ก่อนที่จะทำการดึงตัวล็อกข้อต่อลงมาเพื่อล็อกให้เทปน้ำพุ่งติดอยู่กับวาล์วและข้อต่อเทปน้ำพุ่งอย่างแน่นหนา โดยเมื่อผู้ใช้งานทำการตรวจสอบดูเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าเทปน้ำพุ่งถูกล็อกเอาไว้อย่างแน่นหนา โดยไม่เหลือช่องว่างที่จะทำให้น้ำรั่วซึมออกมาจนเสี่ยงต่อการทำให้เทปน้ำพุ่งหลุดออกจากวาล์วเทปน้ำพุ่งและข้อต่อเทปน้ำพุ่งในระหว่างการใช้งานได้ ก็สามารถนำเอาเทปน้ำพุ่งที่มีการติดตั้งแบบดึงล็อกไปต่อเข้ากับท่อ pvc หรือท่อน้ำพุ่ง เพื่อการนำมาใช้งานในการช่วยรดน้ำแปลงพืชผักได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
การติดตั้งเทปน้ำพุ่งแบบเกลียวล็อก
การติดตั้งเทปน้ำพุ่งแบบเกลียวล็อกเป็นอีกหนึ่งวิธีการในการติดตั้งเทปน้ำพุ่งหรือสายน้ำพุ่งเข้ากับวาล์วเทปน้ำพุ่งและข้อต่อเทปน้ำพุ่งที่มีลักษณะเป็นเกลียว ก่อนการนำมาต่อเข้ากับท่อน้ำพุ่งหรือ ท่อน้ำหยดเดิมที่ได้มีการติดตั้งเอาไว้ก่อนแล้ว โดยในการติดตั้งเทปน้ำพุ่งแบบเกลียวล็อกนั้น ในลำดับแรกผู้ใช้งานจะต้องทำการคลายเกลียวล็อกของวาล์วเทปน้ำพุ่งและข้อต่อเทปน้ำพุ่งออกก่อน เพื่อให้สามารถทำการสอดตัวเทปน้ำพุ่งเข้าไปได้ โดยเมื่อทำการสอดเทปน้ำพุ่งเข้าไปพร้อมตรวจสอบดูจนเรียบร้อยแล้วว่าเทปน้ำพุ่งนั้นถูกวางอยู่ในทิศทางที่ถูกต้อง ผู้ใช้งานก็สามารถทำการหมุนเกลียวเพื่อล็อกตัวเทปน้ำพุ่งเข้ากับวาล์วและข้อต่อเทปน้ำพุ่งได้ในทันที
 

ทำไมถึงควรเลือกใช้งานเทปน้ำพุ่ง ?
เทปน้ำพุ่งมีขนาดของรูน้ำของเทปน้ำพุ่งให้เลือกใช้งานได้อย่างหลากหลาย
จึงทำให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกเทปน้ำพุ่งให้เหมาะสมกับขนาดของพื้นที่ และความต้องการในการได้รับน้ำของทั้งพืชสวนครัว พืชสวน และพืชไร่ในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะแตกต่างไปจากการใช้งานเทปในระบบท่อน้ำหยดที่มีให้เลือกใช้งานเพียงแค่แบบที่มีรูน้ำเพียงรูเดียวเท่านั้น
 
เทปน้ำพุ่งมีการพุ่งกระจายของน้ำที่ดีกว่า
การควบคุมการพุ่งกระจายของน้ำเป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานเทปน้ำพุ่งสามารถทำการควบคุมได้โดยตรง ผ่านการเลือกขนาดของรูน้ำของเทปน้ำพุ่งให้มีความเหมาะสมกับขนาดของพื้นที่ โดยสำหรับพื้นที่ที่มีขนาดเท่ากันการเลือกใช้งานเทปน้ำพุ่งที่มีจำนวนรูน้ำน้อยกว่าจะช่วยทำให้น้ำสามารถพุ่งกระจายได้ในระยะทางที่ไกลกว่า และพุ่งกระจายได้ในระดับความสูงที่มากกว่าการเลือกใช้งานเทปน้ำพุ่งที่มีจำนวนรูน้ำเฉียงเยอะ ๆ
 
เทปน้ำพุ่งสามารถช่วยลดต้นทุนในการวางระบบน้ำการเกษตรได้
เนื่องจากในการใช้งานเทปน้ำพุ่งหรือ ท่อน้ำพุ่ง นั้นจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินระบบท่อ pvc รวมไปถึงค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกซื้อหัว สปริงเกอร์ วาล์วเทปน้ำพุ่ง และข้อต่อเทปน้ำพุ่งมาใช้งานได้มากถึง 4 เท่า อีกทั้งยังสามารถช่วยประหยัดค่าแรงในการวางระบบน้ำสำหรับการเกษตรได้อีกด้วยเพราะการติดตั้งเทปน้ำพุ่งเพื่อการใช้งานนั้นสามารถทำได้ง่าย และผู้ใช้งานสามารถทำได้ด้วยตัวคนเดียวโดยไม่ต้องพึ่งพาใคร
 

หากคุณกำลังมองหา ท่อน้ำพุ่ง ท่อน้ำหยด เทปน้ำพุ่ง หรือ สายน้ำพุ่ง มาใช้งาน ที่ “กนกโปรดักส์” เราพร้อมช่วยให้ทุกเรื่องเกี่ยวกับระบบการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรกรรมเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น เพราะเราเป็นผู้นำด้านระบบน้ำแบบครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่มีบริการรับติดตั้งระบบน้ำ ออกแบบงานบริการติดตั้ง โดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งมากด้วยความสามารถและประสบการณ์ และเรายังมีสินค้ามากกว่า 6,000 รายการเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค ภายใต้แบรนด์สินค้า Red Hand, ไชโย, และ แชมป์ ที่พร้อมให้บริการโดยมืออาชีพบนหลักการ “คุณภาพคุ้มค่า ในราคายุติธรรม” อาทิเช่น หัวจ่ายน้ำ ฟุตวาล์ว แสตนเนอร์กรองทราย ท่อพีอี ท่อ PE ท่อพีวีซี PV หัวดูดน้ำ สายส่งน้ำ เทปน้ำหยด เทปน้ำพุ่ง อุปกรณ์ข้อต่อพีวีซี อุปกรณ์ ข้อต่อ PVC ข้อต่อ PE วาล์วเปิด-ปิดน้ำ วาล์วหรี่น้ำ มินิสปริงเกอร์ หัวน้ำหยด เครื่องพ่นหมอก หัวพ่นหมอก หัวพ่นละอองน้ำ หัวสเปรย์   พร้อมกันนี้เรายังรับผลิตสินค้าเกี่ยวกับระบบน้ำหลากหลายประเภทด้วยโรงงานผลิตที่ได้รับมาตรฐานรับรอง ISO 9001:2015 จนเป็นที่น่าจดจำและได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศมาอย่างช้านาน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้